+66 93 589 8894 info@upsolar.co.th

   1. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

        ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) สังเกตค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม ประสิทธิภาพสูงกว่าโพลีคริสตัลไลน์ แต่แพ้อุณหภูมิสูง  แสงน้อยก็ผลิตไฟได้  ปัจจุบันพัฒนาเป็น Half cell และมีแผ่นสะท้อนแสงด้านหลังทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (ประสิทธิภาพ 18-25%) อายุการใช้งานประมาณ 20-30 ปี      

 

      2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

        เป็นแผงโซล่าเซลล์์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ เกิดจากการหลอมซิลิคอนหรือแก้วให้เหลว แล้วมาเทใส่โมลด์หรือแม่แบบที่เป็นสี่หลี่ยม พอเย็นตัวแล้วนำแท่งแก้วสี่เหลี่ยมนั้นมาตัดเป็นแผ่นบางๆ จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออกสีน้ำเงินฟ้าไม่เข้มมาก  มีประสิทธิภาพต่ำกว่าโมโนคริสตัลไลน์ ทนอุณหภูมิสูงได้ดี (ประสิทธิภาพ 15-20%) อายุการใช้งานประมาณ 20-30 ปี     

      3. แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

        โซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC) คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น จึงเรียก โซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ฉาบ ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (A-Si) ,Cadmium Telluride (CdTe),Copper Indium Gallium Selenide (CIS/CIGS) และ Organic Photovoltaic Cells (OPC) ประสิทธฺภาพต่ำกว่าโมโนคริสตัลไลน์ ประมาณ 3-4 เท่า ไม่นิยมใช้เนื่องจากใช้พื้นที่มาก อายุการใช้งานสั้นประมาณ 5-10 ปี (ประสิทธิภาพ 5-8%)     

ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ (%)  =  (กำลังไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้ (W) / กำลังงาน                                          ของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ (W)) x 100

ประสิทธิภาพแผง (%)  =  (กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ (W) / (พื้นที่ต่อแผง(m2) x จำนวนแผง                                   x ความเข้มแสงอาทิตย์(W/m2)) x 100

 

 

 

สิ่งที่ควรทราบ
    1. แผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้ ควรเป็นแผง Tier 1 มี มอก. หรือได้รับมาตรฐานสากล IEC เป็นต้น
    2. ปัจจุบันมีการรับประกันไฟฟ้าออกไม่น้อยกว่า 80% ที่ 20-25 ปี ประกันการชำรุดเสียหายที่ 10-12 ปี
    3. ผลิตไฟฟ้า 1 kW ใช้พื้นที่ ประมาณ 6 ตารางเมตร (ขนาดแผงโดยทั่วไปประมาณ 2 ตารางเมตร โดยมีน้ำหนักประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
    4. โดยทั่วไปแผงจะผลิตไฟฟ้าออกมาได้จริงประมาณ 80-90%ของขนาดพิกัดของแผง (WP)
    5. มุมและทิศทางการติดตั้งมีผลทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง 10-30% ไม่ควรหันไปในทิศเหนือและทิศตะวันออก ซึ่งตำแหน่งที่ดีควรหันทางทิศใต้ทำมุมเอียงจากแนวระดับประมาณ 15 องศา
    6. ความสกปรกของแผงส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลงประมาณ 5-20%
    7. ร่มเงาต่างๆทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง 10-40%
    8. อุณหภูมิแผงทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ได้ลดลง
    9. ต้องติดตั้งระบบสายกราวด์ DC และระบบป้องกันฟ้าผ่าให้กับแผงทั้งหมด
    10.แรงดันไฟฟ้าที่ออกจากแผงต้องมากกว่าแบตเตอรี่ 1.5 เท่า ถึงจะชาร์ทแบตได้
    11.แผงที่เซลใหญ่กระแสไฟฟ้าจะสูงกว่าเซลล์เล็ก แต่ถ่าจำนวนเซลล์มากจะมีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าจำนวนเซลล์น้อย (โดยทั่วไป 1 เซลล์ จะมีแรงดันประมาณ 0.5-0.6 V.)
    12.ค่าที่สำคัญที่ติดที่ Name plate
         – Voc (Open circuit voltage) คือแรงดันไฟฟ้าตอนวงจรเปิด หรือขณะที่ไม่มีโหลด (วัดจากขั้วบวกและลบของแผง) ค่านี้นำไปใช้ในการออกแบบในการต่อแผงแบบอนุกรมแล้วค่าแต่ละแผงรวมกันไม่ควรเกินแรงดันที่อุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นปั๊มน้ำใช้
          – Isc (Short circuit current) เป็นค่ากระแสสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการลัดวงจรในระบบ ซึ่งนำมาใช้ออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถรับกระแสสูงสุดได้หากเกิดการลัดวงจร
          – Pmax (Rated maximum power) คือค่าพิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุดของแผง โดยทดสอบในห้องทดสอบ ที่ความเข้มแสง 1,000 W ต่อตารางเมตร และอุณหภูมิแผงที่  25 องศาเซลเซียส ที่แสงที่ผ่านชั้นบรรยายกาศ 1.5 เท่าของมวลอากาศ(Air mass)
          – Imp (Current at Pmax) คือค่ากระแสสูงสุดตอนที่แผงโซล่าเซลล์ให้กำลังสูงสุด โดยทดสอบในห้องทดสอบ ที่ความเข้มแสง 1,000W ต่อตารางเมตร และ อุณหภูมิแผงที่ 25 องศาเซลเซียส ที่แสงที่ผ่านชั้นบรรยายกาศ 1.5 เท่าของมวลอากาศ (Air mass)
          – Vmp (Maximum power voltage) คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดขณะที่แผงให้กำลังสูงสุด  ซึ่ง Pmax = Vmp x Imp
          – Max system voltage คือค่าแรงดันสูงสุดที่แผงจะรับได้ ซึ่งเป็นค่าที่กำหนดให้การต่อแผงแบบอนุกรมจนค่าแรงดันไม่สูงกว่าค่านี้ ซึ่งจะเกิดกับระบบใหญ่ๆ เช่น ไม่เกิน 1,000 Volt.
          – Max fuse rating คือค่ากระแสสูงสุดของฟิวส์ จะตัดเมื่อเกิดการลัดวงจร ซึ่งเป็นการบอกว่าในแต่ละสตริง ควรจะติด fuse ไม่เกิดขนาดเท่าใด
           – STC : 1000 W/m2, AM1.5, 25°C คือ ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ที่ผ่านการทดสอบแผงเซลล์เมื่อได้รับแสงความเข้ม (Irradiance) 1000 W/m² แสงที่ผ่านชั้นบรรยายกาศ 1.5 เท่าของมวลอากาศที่ อุณหภูมิแผง 25 องศาเซลเซียส

 

We use cookies to improve your experience and performance of our website. You can learn more at Privacy Policy and manage your privacy preferences by clicking Settings.

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save